วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555


แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล   จัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
2. ความพร้อม ความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้เหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา จัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
4. ประสิทธิภาพในการเรียน แสวงหาวิธีการเรียนใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก

หลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
                        1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   มาจากกลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
                        1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
                        1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร   คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคล
3. ทฤษฎีระบบ   เป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา

แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน  และต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
การรับรู้ คือ กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา ห จมูก ลิ้น และกาย
กระบวนการรับรู้ข่าวสารของมนุษย์แบ่งเป็น 2 ส่วน
             1. กระบวนการรับสัมผัส    เป็นการรับข่าวสารในระยะแรก  โดยอวัยวะรับสัมผัส       
  2. กระบวนการรับรู้
4. ทฤษฎีการเผยแพร่ เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้จากหลายสาขาวิชา ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น